หลักการเลือกคุณลักษณะของความพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติการใช้งานที่หลากหลายเพื่อให้รองรับการทำงานในแต่ละรูปแบบของแต่ละผู้ใช้
1.วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
วิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าคุณสมบัตินั้นๆเหมาะสมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราหรือไม่
1.1การใช้งานสำนักงานและงานนำเสนอทั้วไป(Home & Office)
การใช้งานระบบขั้นพื้นฐานส่วนมากใช้ในการรายงาน โครงงาน หรือสไลด์เพื่อใช้ในการประกอบการศึกษา การใช้งานในลักษณะนี้จะเน้นการนำเข้าข้อมูลด้วยแผงแป้นอักขระและเมาส์ แสดงผลทางหน้าจอหรือพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร
1.2การใช้งานประมาณผล(Computing)
การใช้งานประเภทนี้เป็นการใช้งานแบบนำเข้าข้อมูลด้วยตัวเลข การคำนวณ ผลที่ออกมาจะแสดงผลอยู่ในรูปแบบจำลองกราฟิก 2 มิติหรือ 3 มิติทางจอแสดงผล
1.3การใช้สื่อประสม(Multimedia)
เป็นการใช้งานที่มีการนำเข้าข้อมูลอย่างหลากหลาย เช่น ตัวเลข แผงแป้นอักขระ นำเข้าโดยอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการนำเข้าข้อมูลประเภทนี้ต้องการการประมวลผลที่มากและใช้ทรัพยากรระบบค่อนข้างสูง ส่วนมากจะใช้ในการสร้างงาน ภาพเคลื่อนไหว แอนนิเมชั่น เป็นต้น
2.เลือกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะการใช้งาน
คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท และได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นของผู้คนในปัจจุบัน
2.1งานนอกสถานที่
งานนอกสถานที่เป็นงานที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาได้ สะดวก และพร้อมใช้งานทุกสถานการณ์ พอจำแนกได้ดังนี้
1.คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก(Notebook) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก พกพาสะดวก น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก มีการเชื่อมต่อโดยเครือข่ายมีสายและไร้สาย การใช้งานนี้เหมาะสมสำหรับนักธุรกิจ นักการขาย นักวิชาการ วิทยากรเป็นต้น
2.คอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ก(Net book) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ก มีอุปกรณ์เชื่อมต่อเหมือนโน๊ตบุ๊กทุกประการ มีหน่วยความจำกลางขาดจิ๋ว ไม่มีเครื่องอ่านแผ่นซีดี ดีวีดี น้ำหนักเบากว่าโน๊ตบุ๊ก เกิดความร้อนน้อย และราคาที่ถูกกว่าโน๊ตบุ๊กอีกด้วย
3.แท็บเลตคอมพิวเตอร์(Tablet Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รวมอุปกรณ์ต่างๆไว้ในหน้าจอสัมผัส โดยแสดงผลผ่านหน้าจอสัมผัสนั้น
2.2งานในสถานที่
เป็นลักษณะงานในสำนักงาน ไม่มีการเคลื่อนที่คอมพิวเตอร์ โดยมีองค์ประกอบหลักในการใช้งานดังนี้
1.เครื่องชุด เป็นคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่ซื้อมาแล้วพร้อมใช้งาน เป็นคอมพิวเตอร์ที่เป็นชุดเดียวกันหมดหรือบางครั้งอาจเรียกว่าเครื่องแบรนด์เนม ซึ่งมีผู้ผลิตรายเดียวกันหมดทั้งชุด มีข้อดีคือมีราคาที่แน่นอน การออกแบบดี การติดตั้งโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่างๆได้มาตรฐาน ทันสมัย สวยงาม และ คงทน
2.เครื่องประกอบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้งานต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆมาประกอบเอง และลงโปรแกรมเองทั้งหมด ดีที่จะได้คอมพิวเตอร์ตามสเป็กที่เราต้องการมากที่สุด ข้อเสียคือไม่มีการรับประกันสินค้า ดังนั้นเวลามันพังมาอาจซ้อมยากหน่อย
3.การเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
ในการเลือกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานนั้น เมื่อได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานแล้ว ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกคุณลักษณะฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้น ในการกำหนดคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องพิจารณาด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปพร้อมๆกัน เนื่องจากพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งด้านฮาร์ดแวร์ก่อน อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ต้องการได้ การเลือกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์การใช้งานมีรายละเอียดดังนี้
3.1 การใช้งานสำนักงานและงานนำเสนอทั่วไป
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกามากกว่า 2.4 กิกะเฮิร์ต
- มีส่วนควบคุมการแสดงผลที่มีหน่วยความจำมากกว่า 128 เมกะไบต์(MB)
- มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ชนิดดีดีอาร์ทรี (DDR3) หรือดีกว่า มีขนาดมากกว่า 2 กิกะไบต์(GB)
- มีหน่วยความจัดเก็บข้อมูล (Hard Disk) ชนิด SATA หรือดีกว่า ขนาดความจุมากกว่า 250 กิกะไบต์ หรือมี Solid State Disk ขนาดความจุมากกว่า 30 กิกะไบต์จำนวน 1 หน่วย
- มีเครื่องอ่านและเขียนดีวีดี หรือดีกว่า จำนวน 1 หน่วย
- มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย แบบ 10/100/1,000 เมกะไบต์ต่อวินาที จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ช่อง
- มีจอภาพ LCD มี Contrast Ratio มากกว่า 600:1 และมีขนาดมากกว่า 18 นิ้ว จำนวนหนึ่งหน่วย
3.2 การใช้งานประมวล
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้น้อยกว่า 2 แกนหลัก (2 core) และมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่น้อยกว่า 2.5 กิกะเฮิร์ต และมีความเร็วของหน่วยความจำ หรือมี HTT ขนาดไม่น้อยกว่า 1,066 เมกะเฮิร์ต
- มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพแยกจากแผ่งวงจรหลัก ที่มีหน่วยความจำขนาดมากกว่า 512 เมกะไบต์
- มีหน่วยความจำหลักชนิด DDR3 หรือดีกว่า มีขนาดมากกว่า 4 กิกะไบต์
- มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล ชนิด เอเอสทีเอ หรือดีกว่า มีขนาดความจุมากกว่า 500 กิกะไบต์ จำนวน 1 หน่วย
- ที่เหลือเหมือนข้อ 3.1
3.3 การใช้สื่อประสม
- มีหน่วยประมวลผลกลาง ไม่น้อยกว่า 4 แกนหลัก และมีความเร็วสัญญาณนาฬิกามากกว่า 2..6 กิกะเฮิร์ต และมีความเร็วของหน่วยความจำขนาดไม่น้อยกว่า 1,066 เมกะเฮิร์ต
- มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพแยกจากแผ่งวงจรหลัก ที่มีหน่วยความไม่น้อยกว่า 1 กิกะไบตื
- มีหน่วยจัดเก็บความจำหลัก ชนิดดีดีอาร์ที หรือดีกว่า มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 กิกะไบต์
- มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล ชนิด เอสเอทีเอ หรือดีกว่า ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 1 เทระไบต์
- ที่เหลือเหมือนข้อ 3.1และ3.2
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาขึ้นไปมาก และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คุณสมบัติดังกล่าว อาจจะไม่ตายตัว อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลาและยุคสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
4.แหล่งขาย
แหล่งขายเป็นปัจจัยหนึ่งของการเลือกฮาร์ดแวรื เพื่อให้เหมาะสมกับงาน มีข้อพิจารณาแหล่งขายดังนี้
4.1 มีความน่าเชื่อถือ
ควรเป็นสถานที่ตั้งที่แน่นอนไม่ใช่แผงเช่าถูกๆหรือนิทัศการต่างๆ เพราะสินค้าอาจเป็นของปลอม ดังนั้นซื้อจากร้านจำหน่ายที่เป็นหลักแหล่งจะดีกว่า
4.2 มีการแข่งขันสูง
ทำให้สามารถต่อราคาได้ ยิ่งถ้าเป็นย่านที่ค้าด้านนี้เฉพาะจะยิ่งถูกมาก
4.3 มีประสบการณ์
ผู้จำหน่ายต้องมีประสบการณ์พอสมควร หากไม่มีข้อมูลที่เพียงพออาจจะทำให้ผู้ซื้อได้ข้อมูลที่ผิดๆได้
4.4 มีช่องทางการติดต่อ
ถ้าหากเราต้องการเปลี่ยนสินค้าเราจะได้เปลี่ยนถูก และจะได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้ขาย
4.5 เงื่อนไขรับประกัน
เป็นการสร้างความหน้าเชื่อถือของร้านและอุปกรณ์ ดดยปกติอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอยู่แล้ว
หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกซอฟต์แวร์ดังนี้
1.ความสามารถในการทำงาน
เป็นหลักการในอันดับต้นที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกเพื่อให้ซอฟต็แวร์ที่ติดตั้งนั้น สามารถตอบสนองต่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก และเกิดประสิทธิ์ภาพในการทำงานมากที่สุด
2.การติดต่อกับผู้ใช้
รูปแบบของซอฟต์แวร์ต้องออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายต่อการทำงาน เช่น เป็นรูปแบบไอคอน เพื่อง่ายต่อการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
3.ความเข้ากันได้
ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบอย่างเหมาะสม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการทำงานไม่เต็มที่ หรือส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ มีข้อต้องคำนึง 2 ส่วนดังนี้
1.ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์
ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานให้คู่กันไปของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ คือ ต้องเข้ากันได้ ควรเลือกให้สัมพันะ์กันมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
2.ความเป็นกันได้ของซอฟต์แวร์
คำนึงถึงความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ความเข้ากันได้ของรุ่นคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์ด้วยกันเอง
4.การติดตั้งและการดูแลรักษา
ซอฟต์แวร์ทั่วไปจะต้องติดตั้งง่าย มีระบบการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ เพื่อความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เองด้วย
5.กลุ่มผู้ใช้
หากมีผู้ใช้มากๆก็เป็นการรับรองคุณภาพได้ว่า ของเขาดีจริง จึงมีคนใช้มาก